วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ถ่ายวิดีโอใน iPhone ถ่ายอย่างไรให้ออกมาดูมืออาชีพ


ทราบหรือไม่ว่าเรามีกล้องวิดีโอคุณภาพสูงอยู่ในกระเป๋า นั่นก็คือ iPhone ของเรานั่นเอง หากเทียบกับมือถือรุ่นอื่น ๆ แล้วความสามารถในการถ่ายวีดีโอของ iPhone นั้นไม่แพ้ใครเลย โดยเฉพาะ iPhone รุ่นใหม่ ๆ ก็จะยิ่งมีความสามารถมากขึ้น งานที่ออกมาก็เทียบเท่ากับการใช้กล้องแพง ๆ เลยก็ว่าได้ วันนี้ทีมงาน MacThai มีเทคนิคการถ่ายวีดีโอให้ดูโปร ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้หลายแบบ ตั้งแต่ถ่ายวีดีโอเล่น ๆ ในครอบครัว, ถ่ายงานส่งครู หรือทำภาพยนตร์ก็ยังได้

ทำความเข้าใจการถ่ายวิดีโอแบบต่าง ๆ

การถ่ายวิดีโอบน iPhone นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
  • แบบปกติ คือการถ่ายแบบปกติทั่วไป ซึ่งหากเราใช้ iPhone 6s หรือ iPhone SE จะรองรับการถ่ายความชัดสูงสุดที่ 4K
  • แบบสโลว์โมชั่น เปรียบเสมือนการถ่ายวีดีโอที่ความเร็ว 240 ภาพต่อวินาที (สูงสุดบน iPhone 6 เป็นต้นไป) จากนั้นนำมายืดออก ดังนั้นภาพที่ได้จะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ช้าลง
  • แบบไทม์แลปส์ เป็นการถ่ายวิดีโอนาน ๆ แล้วนำมาเร่งความเร็ว ซึ่งในส่วนนี้ iPhone จะปรับให้เองอย่างฉลาด ให้เหลือประมาณ 20-40 (ไม่ว่าเราจะถ่าย 10 นาที หรือ 2 ชั่วโมงก็ตาม) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่คนจะดูวิดีโอของเราจนจบโดยไม่กดข้าม
ซึ่งการถ่ายทุกแบบจะมาพร้อมกับ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว สังเกตว่าเวลาเราถ่ายวีดีโอ ความกว้างของภาพที่ได้จะแคบกว่าการถ่ายรูปปกติ นั่นเป็นเพราะว่า iPhone จะทำการเผื่อพื้นที่รอบข้างเอาไว้นำมาปรับภาพของเราให้ดูเนียนขึ้น เวลาเรามือสั่น 

30 เฟรมต่อวินาที / 60 เฟรมต่อวินาที เลือกถ่ายแบบไหนดี

ปกติแล้วเราสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายแบบ 30 FPS หรือ 60 FPS (iPhone 6 เป็นต้นไป) ซึ่งการเลือกปรับก็สามารถเข้าไปเลือกได้ที่ Settings > Photos & Camera > Record Video จากนั้นเลือกเป็น 30 FPS หรือ 60 FPS ซึ่งแน่นอนว่าการเปิดการถ่ายแบบ 60 FPS จะทำให้ความจุเต็มไวก็จริง แต่เราลองมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างของทั้งสองอย่างนี้ว่าเหมาะกับงานแบบไหน
  • 30 FPS เป็นการบันทึกภาพ 30 ภาพต่อ 1 วินาที คือไฟล์ขนาดเล็ก ดูเป็นภาพยนต์สูง (ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้ดี) เหมาะสำหรับการถ่ายอิริยาบถทั่วไป ที่ iPhone อยู่นิ่ง ๆ
  • 60 FPS เป็นการบันทึกภาพ 60 ภาพต่อ 1 วินาที ได้ไฟล์ขนาดใหญ่และลื่นมาก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว, เดินถ่าย หรือถ่ายภาพกีฬา
อย่างไรก็ตามในเรื่องถัดไปเราจะมาเรียนรู้การใช้เทคนิคของการถ่ายทั้งสองแบบ ว่าอารมณ์แตกต่างกันยังไง

 

ท่าทางการถือ iPhone

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนมักมองข้ามก็คือท่าทางการถ่ายภาพ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องระลึกไว้เสมอเลยว่า ห้ามถ่ายแนวตั้งเป็นอันขาดเพราะจอภาพไม่ว่าจะยังไงก็ตามจะดูแนวนอนเสมอ การถ่ายวีดีโอแนวตั้งมาเป็นอะไรที่ไร้ประโยชน์มาก เวลาโพสในไหนก็จะมีแถบสีดำสองข้างมาหลอกหลอน เป็นที่น่ารำคาญตายิ่งนัก แถบการมองเห็นส่วนบนและล่างของภาพที่เราจะถ่ายก็ไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นถ้าจะถ่ายวิดิโอละก็ ถ่ายแนวนอนไว้ดีกว่า และท่าทางการถ่ายก็สำคัญ เพราะส่งผลต่อความนิ่งและการหันไปมาของกล้อง ทีมงานได้ทดลองถ่ายท่าต่าง ๆ ดู ก็ได้ค้นพบเทคนิคที่ทำให้การถ่ายวิดิโอนั้นนิ่งขึ้น
  • ถ่ายแบบมือเดียว หลายคนเวลาถ่ายวิดีโอบน iPhone จะใช้การถ่ายคล้ายกับถ่ายรูป ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ถูกต้อง เพราะการถ่ายรูปเราต้องใช้มือกดชัตเตอร์ แต่วิดีโอเราต้องการภาพที่ออกมาลื่นไหลที่สุด (กดอัดไว้ก่อน ค่อยปรับท่าทางก็ได้) ซึ่งท่าทางที่ถ่ายแล้วจะดูนิ่ง ก็คือการวาง iPhone ลงบนทั้ง 4 นิ้ว แล้วใช้นิ้วโป้งจับบริเวณขอบอีกด้านของ iPhone ซึ่งการทำแบบนี้ จะทำให้เรายืดแขนได้ตรง (ไม่ต้องงอแขน) ทำให้ภาพจะดูลื่นกว่า อีกทั้งเรายังสามารถใช้แขนทั้งแขนของเรา ยกลึ้นลง ซ้ายขวาได้อย่างอิสระ ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ หรือลุก ๆ นั่ง ๆ
  • หรือถ่ายแบบสองมือช่วยประคอง หากสามารถถ่ายสองมือได้ ก็แนะนำว่าควรถ่ายสองมือ ช่วยกันประคอง iPhone ไว้ โดยใช้ปลายนิ้ว (ข้อต่อสุดท้าย) ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน
  • ใช้การย่อเข่าช่วย การย่อเข่าลงระหว่างเดินเล็กน้อยจะช่วยให้นิ่งขึ้น (แต่ระวังปวดขาแทน) แนะนำว่าถ้าต้องถ่ายยาว ๆ ละก็ หาจักรยานมาปั่นดีกว่า ทำให้ภาพนิ่งกว่าและไม่ต้องปวดขาด้วย (แต่ก็เสี่ยงกับ iPhone หล่นแทน จับให้แน่น ๆ ละกัน)

การเลือกมุมในการถ่าย

จริง ๆ แล้วในส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคน ว่าต้องการถ่ายภาพแบบไหน แต่ถ้าคำนึงถึงท่าทางในการถ่ายแบบด้านบนแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าผลออกมาจะทำให้วีดีโอเราดูแปลกใหม่ขึ้น

รู้จักกับ AE และ AF Lock

การถ่ายวิดีโอบน iPhone นั้น ตัว iPhone จะช่วยปรับแสงว่างและโฟกัสให้เราอัตโนมัติ เรียกว่า Focus Pixel แต่ในบางกรณี เราก็ต้องการจะเลือกโฟกัสเฉพาะจุด หรือปรับแสงตามที่เราต้องการเท่านั้น ซึ่งวิธีป้องกันไม่ให้ iPhone โฟกัสหรือปรับแสงอัตโนมัติก็สามารทำได้โดยการเปิด AE/AF Lock
วิธีใช้งาน AE/AF Lock 
  • ทำการกดค้างที่หน้าจอ โดยกดไปบริเวณที่เราต้องการโฟกัส ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที
  • หน้าจอจะขึ้นคำว่า AE/AF Lock บนกรอบสีเหลือง (เหมือนในภาพด้านบน)
  • หากต้องการเพิ่มหรือลดความสว่าง ให้เลื่อนรูปพระอาทิตย์ข้าง ๆ กรอบโฟกัสขึ้นหรือลง
  • ทำการถ่ายวีดีโอ ซึ่ง iPhone จะไม่ เปลี่ยนจุดโฟกัสจนกว่าเราจะแตะที่หน้าจออีกครั้ง
สำหรับการใช้งาน AE/AF Lock นั้น นิยมใช้กับการถ่ายแบบใกล้ ๆ หรือการเล่นโฟกัสไปมา เช่น จากวัตถุชิ้นใกล้ไปยังวัตถุชิ้นไกล โดยที่ยังโฟกัสที่ระยะสั้น ๆ อยู่

เปิด Flash ช่วยขณะถ่ายสโลว์โมชั่น

หลายอาจจะเคยสังเกตว่าเวลาที่เราถ่ายสโลว์โมชั่นนั้น ภาพจะมืด นั่นก็เป็นเพราะว่าการถ่ายแบบสโลว์โมชั่นนั้นจะต้องถ่ายด้วยความเร็วชัดเตอร์ที่สูงมาก ทำให้ไม่สามารถรับแสงได้มากเหมือนกับการถ่ายภาพความเร็วต่ำ ดังนั้นเราจึงอาจใช้แสงจาก Flash ช่วย สำหรับการเปิด Flash ให้กดที่รูป Flash จากนั้นเลือก On 

อีกหนึ่งปัญหาของการถ่ายสโลว์โมชั่นก็คือ ภาพกระพริบ ซึ่งเป็นผลมาจากหลอดไฟที่เราใช้นั้น มีการกระพริบตามกระแสของไฟฟ้าที่ไหลผ่าน การถ่ายวิดีโอที่ความเร็วระดับ 240 ภาพต่อวินาทีนั้น มากกว่าอัตราการกระพริบของหลอดไฟ ทำให้ภาพที่ได้ดูกระพริบ สำหรับวิธีแก้ก็สามารถ ใช้การเปิด Flash ช่วยได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด การถ่ายวิดีโอสโลว์โมชั้นควรถ่ายทำในที่ แสงธรรมชาติ มากกว่าแสงหลอดไฟ

ตัดต่อให้โปรด้วย iMovie – Download

iMovie คือแอพที่ดีที่สุดที่เราจะใช้ในการตัดต่อวิดีโอ เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับ iPhone, iPad หรือ macOS โดยเฉพาะ สามารถ Download ได้จาก App Store
หากใครที่เคยใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโออื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Timeline ก็จะสามารถเข้าได้ได้เป็นอย่างดี สำหรับการตัดต่อที่ทีมงานแนะนำ ก็มีเทคนิคดังนี้
ยืดเวลาภาพเล็กน้อยเพื่อสื่ออารมณ์ได้มากขึ้น 
การถ่ายแบบ 60 FPS นั้นมีข้อดีคือ เราสามารถยืดภาพให้เป็นสโลว์โมชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ แต่ไม่สโลว์เท่าการถ่ายแบบ 240 FPS ซึ่งเราสามารถเลือกยืดคลิปได้โดยปรับ Speed editor ใน iMovie
ใช้การ Fade 
ใน iMovie มีการ Fade หลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของคลิปของเราว่าเป็นแบบไหน แต่ถ้าต้องการสื่อถึงความตื่นเต้น รวดเร็ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Fade ในส่วนนี้ให้ลองสังเกตจากภาพยนตร์ ต่าง ๆ ซึ่งหากสังเกตแล้วจะไม่ค่อยใช้การ Fade เท่าไหร่ จะเน้นตัดไปมาเลย
ปรับแต่งสีให้เลิศ 
เราสามารถเลือกปรับสีของคลิปได้ ไม่ว่าจะเป็นความสว่าง, เพิ่มลดรายละเอียดของคลิป, ปรับสีโทนร้อน-เย็น หรือจะเลือกใส่เป็น Filter อื่น ๆ อีกมากมายได้ ทำให้ดูแปลกตามากขึ้น ดูไม่เหมือนถ่ายจากกล้องโทรศัพท์เลย

บันทึกและแชร์วิดีโอ

หลังจากที่ได้ทำคลิปของเราให้สวยเลิศเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถแชร์กับเพื่อนได้ในช่องทางต่าง ๆ ซึ่งทีมงานแนะนำว่าควรเลือกอัพโหลดเป็น HD หรือ 4K ไปเลย เพื่อให้ดูโปรมากขึ้น สำหรับช่องทางในการแชร์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย เช่น
  • Facebook – อันนี้ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี ซึ่ง Facebook ก็มีตัวเลือกให้เราปรับแก้ไขเวลาคลิปก่อนอัพเล็กน้อย
  • YouTube – มีตัวเลือกเยอะอยู่พอสมควร สามารถใส่ Filter ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ และเลือก Soundtrack ประกอบได้ด้วย
  • Flickr – เน้นการอัพวีดีโอในลักษณะของ Footage เพื่อนำไปใช้ในงานต่าง ๆ
  • Google Photos – สามารถเก็บวีดีโอได้และแชร์เป็นอัลบัมร่วมกับรูปได้ด้วย
  • iCloud Photos Library – คล้ายกับ Google Photos คือสามารถจัดเก็บเป็นอัลบัมได้
สรุปแล้ว กล้องบน iPhone ของเรานั้นสามารถนำมาสร้างสรรค์งานในระดับมืออาชีพได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการและมุมมองของเราว่าเราจะถ่ายทอดออกมาอย่างไร ซึ่งทาง Apple ก็ให้ความสำคัญในส่วนนี้ และได้มีการนำมาทำเป็นแคมเปญ Shot on iPhone หรือ ถ่ายด้วย iPhone ซึ่งก็เป็นโฆษณาฉายทางโทรทัศน์ให้เราได้เห็นกันเป็นประจำ
ที่มาhttp://www.macthai.com/2016/07/17/shot-pro-video-using-iphone/























วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

       คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ 

การเก็บข้อมูล การตัดสินใจ การสร้างงานที่ยุ่งยากซับซ้อนและอื่นๆ ในอดีตคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แต่ปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาและขยายขีดความสามารถสูงขึ้น มีการนำไปประยุกต์ใช้งานในหน่วยงานต่างๆ มากมาย เช่น งานราชการ ธุรกิจ การแพทย์ บันเทิง การทหาร 

เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะช่วยทำให้เราสามารถเลือกใช้คอมพิวเตอร์ได้ตรงความต้องการและมีประโยชน์มากที่สุด

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

   หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้โดยตัวเครื่อง
คอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์ จะมีส่วนประกอบสำคัญขั้นพื้นฐาน 4 หน่วย คือ
  1.หน่วยรับข้อมูล (input unit)
  2.หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit)
  3.หน่วยความจำ (memory unit)
  4.หน่วยแสดงผล (output unit)




หน่วยรับข้อมูล (input unit)


         หน่วยรับข้อมูล (input unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นต้น 

โดยจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลักและใช้ประมวลผลได้ 
อุปกรณ์หน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

1.แป้นพิมพ์ (keyboard)
    ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข เรียกใช้ฟังก์ชั่นของซอร์ฟแวร์และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ



2.เมาส์ (mouse)
  เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนจอภาพได้ ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์จะเป็นรูปลูกศร 
ซึ่งจะเกิดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์



3.สแกนเนอร์ (scanner)
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพที่ต้องการ ทำสำเนาภาพ 

จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าและเก็บเป็นไฟล์ภาพ 





4.อุปกรณ์จับภาพ (image capturing devices)
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปแบบดิจิตอล อุปกรณ์จับภาพมี ชนิด คือ
  4.1 กล้องถ่ายภาพดิจิตอล
  4.2 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล




5.อุปกรณ์รับเสียง (audio-input devices)
  ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เขาใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้






หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit)

หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างว่า ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูลตามคำสั่งต่างๆ 

ในโปรแกรมที่เตรียมไว้และส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสามารถเก็บหรืออ่านผลลัพธ์ได้หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ 
ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ




หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1.หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
2.หน่วยควบคุม (Control Unit)
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)


หน่วยความจำ (memory unit)

หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นที่เก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ไว้

ในคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อข้อมูลที่ช่วยในการจดจำ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล 
หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) 
  2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

      หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) 

อยู่ภายในตัวเครื่องจะทำงานเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรงหน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่ง
ในระหว่างการประมวลผลและมีกระแสไฟฟ้าสารกึ่งตัวนำหน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็กราคาถูกและสามารถให้หน่วยประมวลผลกลางนำข้อมูลมาเก็บ 

และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็วหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่รับและส่งสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบของรหัส ความจุไม่ใหญ่มาก         

นักโดยมีหน้าที่สำคัญ คือ เรียกใช้และเก็บชุดคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลจากหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำหลักแบ่งตามสภาพการใช้งานเป็น 2 ประเภท แบ่งออกเป็น

  - ROM (Read Only memory)
  หมายถึงหน่วยความจำที่จะถูกอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น โดยจะเก็บคำสั่งหรือโปรแกรมไว้อย่างถาวร แม้ปิดเครื่องก็จะไม่ถูกลบไม่ต้องไฟฟ้าเลี้ยง

  - RAM (Random access memory)
  หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลหรือคำสั่งขณะที่เครื่องทำงานความจำประเภทนี้ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย 

ซึ่งหากไฟฟ้าดับข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะหายไป

                หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

    เปรียบเสมือนสมุดบันทึกสำหรับเก็บโปรแกรมและข้อมูลไว้ใช้ใน โอกาสต่อไป หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit)  

ทำหน้าที่เก็บข้อมูลตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งจะมีพื้นที่หรือความจุมากกว่าหน่วยความจำหลัก ลักษณะในการเก็บข้อมูลจะเป็นแบบถาวร คือ 

ข้อมูลจะไม่สูญหายไปเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง 

ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท


ฮาร์ดดิสก์
ออปติคัลดิสก์

เอ็กซ์เทอร์นอล
แฟลชไดร์ฟ



หน่วยแสดงผล (output unit)

         หน่วยแสดงผล (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลโดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้า 

ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น 

อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
1.จอภาพ (monitor)
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่เมื่อปิด 

เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้





2.เครื่องพิมพ์ (printer)
  เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพลงบนกระดาษ ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน




3.ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง

ที่มา https://sites.google.com/site/intechnology58/t1