วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) 8.0.1
         ดาวน์โหลด Google SketchUp โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างแบบจำลอง 3 มิติ สร้างโมเดลบ้าน ออกแบบประตู หน้าต่าง ออกแบบรถ ออกแบบตัวละคร วาดการ์ตูน ได้ทุกอย่าง ใช้ง่ายมาก

SketchUp Make (โปรแกรมทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง สร้างโมเดล 3 มิติ) 15.3

ดาวน์โหลดโปรแกรม SketchUp Make ทำแบบบ้าน ออกแบบห้อง ออกแบบโมเดล 3 มิติ ต่างๆ ได้ง่ายๆ มีคลิปสอนวิธีการใช้งาน และ วิธีการให้ลองทำตาม อย่างละเอียด ฟรี ไม่มีค่าบริการใดๆ



Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)

ดาวน์โหลด Blender ฟรีโปรแกรมออกแบบวัตถุ 3 มิติ โปรแกรม Animation 3 มิติ ออกแบบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ 3D Animation แจ๋วๆ โปรแกรมออกแบบ ได้ทั้ง ออกแบบรถ ตัวละคร

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)


LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ)



โปรแกรม LibreCAD โปรแกรมออกแบบ วัตถุ 2 มิติ (2D) หรือเรียกว่า โปรแกรมวาดแบบ ก็ได้ ใช้ออกแบบวัตถุต่างๆ ออกแบบเสื้อ ออกแบบบ้าน วัตถุต่างๆ ได้ตามใจชอบ 

QCad (โปรแกรมออกแบบ CAD แบบ 2 มิติ ฟรี)


โปรแกรมออกแบบ ประเภท CAD 2 มิติ  QCad ขนาดเล็ก สามารถใช้ออกแบบได้หลากหลาย หลายรูปทรง วาดรูป ลากเล้น โค้งเว้า ออกแบบร่างต่างๆ มีรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 30 แบบ

เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาดคืออะไร
เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป



หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย



ที่มา http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/knowledge/knowledge_ct1.html


5W1H





            5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
วิธีการพื้นฐานวิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร

What.
           คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

Who.
           สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

When.
           หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข

Where.
           เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 

Why.
           เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน

How.
           เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด
Conclusion.
5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย
ที่มาhttp://www.thaidisplay.com/content-39.html

ตัวอย่างการออกแบบ

การออกแบบ


        1.
การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) 
เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่ 
                - 
สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
                - 
สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร 
                - 
สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร 
                - 
งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
                - 
งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
        2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) 
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
                - งานออกแบบครุภัณฑ์ 
                - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ 
                - งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
                - งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
                - งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
                - งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
                - งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ

        3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
                - งานออกแบบเครื่องยนต์ 
                - งานออกแบบเครื่องจักรกล 
                - งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร 
                - งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ

        4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานตกแต่งภายใน (Interior Design) 
                - งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
                - งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design) 
                - งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) 
                - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                - การจัดบอร์ด 
                - การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ

        5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)
เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ













ที่มาhttp://www.mew6.com/composer/art/design.php




กระบวนการเทคโนโลยี


             กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้
การนำกระบวนการเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้น สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้น โดยหากผู้อ่านท่านใดนสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่ เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยี ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ที่มาhttp://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108








ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันโดยจะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัว ความรู้ไม่ใช่ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้หรือจับต้องได้ วิทยาศาสตร์จะไม่มีคุณค่าถ้า ไม่มีเทคโนโลยีเชื่อมโยง และเทคโนโลยีที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานก็จะไม่สามารถนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดได้   เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งความรู้ ทักษะ วัสดุอุปกรณ์ ในการแก้ปัญหาหรือ สร้างสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์โดยอาศัยความรู้หลากหลายวิชา เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางศิลปะ ความรู้ทางมนุษย์ศาสตร์ เป็นต้น
สัมพันธ์กับศาสตร์ทุกสาขาเช่นกัน มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีจึงต้องมีความจำเป็นต้องให้ความสนใจใส่ใจ ทำความเข้าใจอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีให้ได้ และที่สำคัญที่สุดต้องสามารถเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน และการดำรงชีวิตให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขด้วย เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ กับวิทยาศาสตร์อย่างไร รออกแบบและเทคโนโลยี ม.4-6 21เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกตอบสนองความต้องการ ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องพึ่งพา ให้ครอบคลุมเกือบทุกปัจจัยจนกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติ ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองปัจจัย 4 ความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และตอบความต้องการเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการทำงาน การประกอบอาชีพ การคมนาคม การสื่อสารสารสนเทศ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนความมั่นคง ความปลอดภัย การแก้ไขปัญหา การป้องกันอันตราย และอื่นๆ อีกมากมาย
ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีเกือบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เรา โดยการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับศาสตร์ทุกสาขาเช่นกัน มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีจึงต้องมีความจำเป็นต้องให้ความสนใจใส่ใจ ทำความเข้าใจอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีให้ได้ และที่สำคัญที่สุดต้องสามารถเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน และการดำรงชีวิตให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขด้วย
ทีมา  







ที่มา  https://kruneedesign.wordpress.com/2013/08/30/หน่วยที่-1-เรื่องที่-1-เทคโ/

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

         เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศฯลฯ4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ


ที่มาhttp://www.vcharkarn.com/vblog/43316

             


ความหมายของเทคโนโลยี


เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น



ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/149384

ค่านิยม12ประการ


ค่านิยม 12 ประการ

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
      เช่น การยืนเคารพธงชาติ การสวดมนต์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
      เช่น ดูแลเงินในห้องและเก็บรักษาไม่ให้สูญหาย
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
      เช่น  ช่วยทำงานบ้าน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
      เช่น ตั้งใจเรียนเวลาคุณครูสอน ทำการบ้านด้วยตนเอง
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
      เช่น สวมใส่ชุดสุภาพเข้าสถานที่ที่บุคลให้ความเคารพ ปฏิบัติตนให้สุภาพเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
      เช่น แบ่งขนมให้เพื่อน ให้เพื่อน ให้เพื่อนยืมดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด เป็นต้น
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
      เช่น มีส่วนร่วมในการออกเสียงในการเลือกหัวหน้าห้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
     เช่น รับฟังคำติชม คำตักเตือนที่ผู้ใหญ่ พูด ไม่เถียงผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
     เช่น มีสติในการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
     เช่น  ใช้จ่ายเงินเท่าที่จำเป็น 
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้อำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
     เช่น หมั่นฝึกตนตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
     เช่น  ทำตนให้มีประโยชน์ต่อสังคม

ที่มา:http://www.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=3230

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ น.ส.ชนกชนม์  ทองหวาน
ชั้น ม.5/9
เลขที่ 33
เกิดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2542
อายุ 15 ปี
สีที่ชอบ สีดำ
อาหารที่ชอบ ผัดกระเพรากุ้ง ทะเล
กำลังศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา